แบบฝึกหัดบทที่ 2
เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว
จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1.
ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก
และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร
อธิบาย
ตอบ
ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือ คณะราษฎร
ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
7 เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า
“บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว
มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน
ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี
สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์
ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า” ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่ง
กฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน
การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ
(ราชกิจจานุเบกษา, 2475, 536)
2.
แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492
ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ รัฐธรรมนูญฯ 2492 กำหนดไว้ว่า
1) เป็นรัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนชื่อมาใช้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
2) ในรัชสมัย
รัชกาลที่ 9 โดยมีคณะอภิรัฐมนตรี
ในหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คือ รังสิตกรม กรมขุนชัยนาทนเรนทร อลงกฏ ธานีนิวัต
พระยามานวราชเสวี อดุลเดชจรัส
3) เหตุผล
ด้วยเหตุการณ์บ้านเมืองได้วิวัฒนาการมาโดยลำดับ จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญให้อนุโลมตามกาลนิยม
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม
ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติการของไทย
ประกอบด้วยสมาชิกสี่สิบคน ซึ่งรัฐสภาเลือกจากสมาชิกวุฒิสภาสิบคน สมาชิกสภาผู้แทนสิบคน
และจากบุคคลภายนอก ผู้มีสมบัติต่าง ๆ กันสี่ประเภท ประเภทละ 5 คน
4) ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ศรีธรรมาธิเบศ ประธานวุฒิสภา
5) โครงสร้างหรือองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
6) ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
3.
เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ เหมือนกัน เพราะ เป็นรัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนชื่อมาใช้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
4.
ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศกราช 2475-2490
ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 25492-2517
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ การศึกษาเมื่อปีพุทธศักราช 2475-2490 และ พุทธศักราช 2549-2517 มีความแตกต่าง
กัน ดังนี้
พุทธศักราช 2475-2490 คือ
การศึกษาขึ้นอยู่กับสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยมีการควบคุมการศึกษาโดยหน่วยงานต่าง
ๆ แต่ให้เสรีภาพในการศึกษาไม่บังคับอะไรมากมาย แต่ก็จำเป็นต้องศึกษา
พุทธศักราช 2549-2517 คือ การศึกษาเริ่มเป็นระบบมากขึ้น มีหน่วยงานของ
รัฐบาลให้ความช่วยเหลือในการศึกษาทั้งในเรื่องของ ทุนการศึกษา และมีการบังคับให้ศึกษาตาม ระบบมีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาที่แน่นอน
และมีบทลงโทษสำหรับบุคคลที่ไม่สนใจในการศึกษา
5.
ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
อธิบาย
ตอบ การศึกษาเมื่อปีพุทธศักราช 2521-2534 และ พุทธศักราช 2540-2550
มีความแตกต่างกัน ดังนี้
พุทธศักราช 2521-2534 คือ
รัฐพึงส่งเสริมการศึกษาและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ
แต่ในปี
พุทธศักราช 2540-2550 คือ
การศึกษาหรือบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา ไม่น้อยกว่า12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ที่แตกต่างกันก็คือ เมื่อปีพุทธศักราช 2521-2534 การศึกษาไม่บังคับ แต่เมื่อพุทธศักราช 2540-2550 การศึกษามีการบังคับการศึกษา
6.
เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
อธิบาย
ตอบ
สาเหตุที่รัฐธรรมนูญต้องระบุในประเด็นการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงก็เพราะเพื่อให้คนไทยทุกคนได้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญของการให้การศึกษาเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบ
และต้องการให้มีสอดคล้องกันและมีการบังคับการศึกษาที่แน่นอน
7.
เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2550 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชาวไทย
มาตรา 50 ที่ว่า
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย
และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ไม่ขัด
ต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
บุคคลที่ปฏิบัติตามเงื่องไขหรือตามที่กฎหมายบัญญัติจะได้รับการคุ้มครอง
แต่บุคคลทีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะไม่ได้รับการคุ้มครอง
8.
การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม
และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับที่สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
และเปิดโอกาสให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
9.
เหตุใดการจัดการศึกษา
รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย
พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ สำหรับสาเหตุที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาให้คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน
ส่งเสริมการศึกษาให้เท่าเทียบกันก็เพราะว่า
อยากให้คนไทยทุกคนมีสิทธิที่เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย
และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน
สังเคราะห์ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสได้มีโอกาสเท่าเทียมกันและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
10.
ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลต่อการพัฒนาประเทศคือ
ทำให้ประเทศเป็นระบบระเบียบและมีกฎหมายเอาผิดสำหรับบุคคลที่ทำผิดกฎหมาย
สังคมไม่วุ่นวาย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
และการสร้างคนให้เป็นไปตามความต้องการของคนในประเทศ
ควบคุมพฤติกรรมทางสังคมพัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น