แนวคิดของ SWOT Analysis
SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ
หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต
SWOT เป็นตัวย่อของข้อความที่มีความหมายดังนี้
Strengths หมายถึง จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses หมายถึง จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities หมายถึง โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats หมายถึง อุปสรรค ข้อจำกัดหรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
หลักการสำคัญของ SWOT
หลักการสำคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจสภาพแวดล้อม 2 ด้าน
ได้แก่สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง
(รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ
ทั้งภายนอกและภายในองค์กร
ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร
ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่จะมีผลต่อองค์กร และจุดแข็ง จุดอ่อน
และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์
การกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมดำเนินการขององค์กรที่เหมาะสมต่อไป
ประโยชน์ของการวิเคราะห์
SWOT
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไร
จุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย
ในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน
โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์
การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม
ขั้นตอนวิธีการดำเนินการทำ
SWOT Analysis
1.
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
2.
การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
-
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร
-
สภาพแวดล้อมทางสังคม
-
สภาพแวดล้อมทางการเมือง
-
สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี
-
สถานะสุขภาพ
-
สภาพแวดล้อมทางสิ่งแวดล้อม
-
โอกาสทางสภาพแวดล้อม
-
อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม
3.
ระบุสถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อมเมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับ
จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค
4.
ข้อพิจารณาในการวิเคราะห์ SWOT มีดังนี้
-
ควรวิเคราะห์แยกแยะควรทำอย่างลึกซึ้ง
-
การกำหนดปัจจัยต่าง ๆ
ไม่ควรกำหนดของเขตของความหมายของปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จุดอ่อน (W) หรือ จุดแข็ง (S) หรือ โอกาส (O) หรือ อุปสรรค (T) ให้มีความหมายคาบเกี่ยวกัน
การศึกษาสถานภาพสถานศึกษา
การศึกษาสถานภาพเป็นการ ศึกษาวิเคราะห์ ถึง ปัจจัย
ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งนั้นๆเพื่อเป็นเครื่องมือ ในการประเมินสภาพว่าเป็นอย่างไรและควรพัฒนาไปในทิศทางใด
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าเป็นการ สำรวจหาขีดความสามารถเพื่อใช้ในการวางแผน สำหรับขั้นตอนการศึกษาสถานภาพ มีดังนี้
1.
วิเคราะห์ภารกิจและผลผลิตหลัก
2.
วิเคราะห์สภาพแวดล้อม(ภายใน,ภายนอก)
3.
ประเมินสถานภาพสถานศึกษา
4.
ทิศทางของสถานศึกษา
5.
กำหนดกลยุทธ์
1.
การวิเคราะห์ภารกิจและผลผลิตหลัก
ภารกิจของสถานศึกษา (Assigned mission) คือ
จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาเป็นคนดี คนเก่ง
และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
สถานศึกษาต้องตระหนักในภารกิจหลักโดยมุ่งกำหนดเป้าหมาย วางแผน
และดำเนินการสู่ความสำเร็จ
ซึ่งการกำหนดเป้าหมายและกิจกรรมดำเนินงานต้องคำนึงถึงกฎหมาย นโยบาย
และความคาดหวังของผู้ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา
ผลผลิตหลัก (Outputs) คือ
สิ่งของหรือบริการที่เป็นรูปธรรมหรือรับรู้ได้ที่จัดทำโดยหน่วยงานของรัฐเพื่อให้บุคคลภายนอกได้ใช้ประโยชน์
ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่รัฐบาลคาดหวังตามนโยบายของรัฐ ซึ่งกำหนดมาจากความต้องการของประชาชนและสังคม
สำหรับผลผลิตหลักของสถานศึกษาของสำนักงานพื้นที่การศึกษา
คือการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเด็กในวัยเรียน ประกอบด้วย
ผู้จบการศึกษาก่อนประถมศึกษา
ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ
ผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
เด็กพิการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและพัฒนาสมรรถภาพ และเด็กด้อยโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งจะเห็นว่าเด็กในวัยเรียนเป็นกลุ่มเป้าหมายของผลผลิตหลักและตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดการศึกษา
2.
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ
หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดจุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
S ย่อมาจาก
Strengths หมายถึงจุดแข็ง (ข้อได้เปรียบ)
W ย่อมาจาก
Weaknesses หมายถึงจุดอ่อน (ข้อเสียเปรียบ)
O ย่อมาจาก
Opportunities หมายถึงโอกาส(ปัจจัยที่จะส่งผลให้สามารถดำเนินการได้)
T ย่อมาจาก
Threats หมายถึงอุปสรรค (ปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงาน)
3.
การประเมินสถานภาพ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสถานศึกษาทางการศึกษา
เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม
สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา
ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด
รูปแบบการบริหารงานของสถานศึกษาทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น
การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการของสถานศึกษาชุมชนที่สถานศึกษาทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพของสถานศึกษาทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา
ดังนั้นการประเมินสถานภาพสถานศึกษาจะทำให้เราทราบว่าปัจจุบันสถานศึกษาเป็นอย่างไร มีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นโอกาส และอุปสรรค
มีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนในด้านใด
เพื่อที่จะเป็นข้อมูลในการจัดวางทิศทางสถานศึกษา ในการประเมินจะใช้กระบวนการทางสถิติเป็นเครื่องมือในการประเมินและนำเสนอการประเมินสภาพสถานศึกษา
เป็นการเลือกวิธีการทำงานอย่างมี
ทิศทางที่เหมาะสม
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ประสบผลสำเร็จสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
1.
โครงสร้างของสถานศึกษา (Structure)
2.
ระบบบริการ(Services)
3.
บุคลากร(Man)
4.
การเงิน(Money)
5.
วัสดุและอุปกรณ์(Materiall)
4.
กำหนดทิศทาง
โดยทั่วไปจะมี 4 ลักษณะ คือ
1. เอื้อและแข็ง คือ ปัจจัยภายในมีความเข้มแข็ง
และปัจจัยภายนอกสร้างโอกาส เอื้อต่อการดำเนินการ
2. เอื้อแต่อ่อน คือ ปัจจัยภายในมีความอ่อนแอ
แต่ปัจจัยภายนอกสร้างโอกาส เอื้อต่อการดำเนินการ
3. ไม่เอื้อแต่แข็ง คือ ปัจจัยภายในมีความเข้มแข็ง
แต่ปัจจัยภายนอกไม่สร้างโอกาส เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการ
4.ไม่เอื้อและอ่อน คือปัจจัยภายในมีความอ่อนแอ
และปัจจัยภายนอกไม่สร้างโอกาส เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการ
5.
กำหนดกลยุทธ์
โดยทั่วไปจะมี 4 ประเภท คือ
1. กลยุทธ์สร้างการเจริญเติบโต
เป็นกลยุทธ์ที่เอื้อและแข็ง โดยขยาย กิจการหรือดำเนินงานเพิ่มเติมขึ้น
2. กลยุทธ์ความถนัด เป็นกลยุทธ์ที่เอื้อแต่อ่อน
โดยเลือกดำเนินงานเฉพาะที่มีความรู้ความชำนาญ
3. กลยุทธ์รักษาเสถียรภาพ
เป็นกลยุทธ์ที่ไม่เอื้อแต่แข็ง โดยเลือกดำเนินงานที่กำลังดำเนินงานอยู่ไม่ขยาย
4. กลยุทธ์การตัดทอน เป็นกลยุทธ์ที่ไม่เอื้อและอ่อน
โดยการทบทวนภารกิจในส่วนที่ทำประโยชน์ได้
สรุปได้ว่า
การศึกษาสถานภาพสถานศึกษาเป็นการเลือกวิธีการทำงานอย่างมีทิศทางที่เหมาะสม
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ประสบผลสำเร็จสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
การกำหนดทิศทางของสถานศึกษาช่วยให้การดำเนินงานของสถานศึกษามีความชัดเจนมากขึ้น
ซึ่งสถานศึกษาต้องรู้สถานภาพของตนเองก่อนว่าอยู่ในสถานภาพที่ต้องปรับขยาย แก้ไข
หรือพัฒนาอะไรบ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น