วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

1.             ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ       แตกต่างกัน ศีลธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติดีประพฤติชอบอันเนื่องมาจากคำ สอนทางศาสนา และเป็นศัพท์บัญญัติที่ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า morals หรือ morality  
                จารีตประเพณีนั้นวิวัฒนามาจากศีลธรรม ซึ่งเกิดแต่ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์แต่ละคนว่า การกระทำอย่างไรชอบ อย่างไรไม่ชอบ เกิดจากมโนสำนึกและมโนธรรมของแต่ละคน
                กฏหมาย หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือประเทศ ได้กำหนดมาเพื่อใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองหรือบังคับความประพฤติของ ประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฏหมาย


2.             คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง
ตอบ        กฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยมีมากมาย หลายประเภท  เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร  เป็นต้น กฎหมายบางประเภทก็มีผลบังคับใช้ กับบุคคลโดยทั่วไป  บางประเภทก็มีผลบังคับใช้เฉพาะประชาชนที่อยู่ในเขตท้องที่นั้นๆ  กฎหมายที่มีความสำคัญบังคับใช้กับบุคคลทั่วไปย่อมมีความสำคัญมากกว่ากฎหมายที่มีผลบังคับใช้เฉพาะประชาชนที่อยู่ในเขตท้องที่นั้นๆ   ซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่า ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
                การจัดศักดิ์ของกฎหมาย มีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่างๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้  การตีความ  และการยกเลิกกฎหมาย เช่น  หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่มีลำดับชั้นต่ำกว่า จะมีเนื้อหาของกฎหมายที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่านั้นไม่ได้   หากพิสูจน์ได้ว่ามีความขัดหรือแย้งดังกล่าว ถือว่ากฎหมายลำดับชั้นต่ำกว่าจะถูกยกเลิกไป       
1. รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช.  2. พระราชบัญญัติ  3. พระราชกำหนด          4. พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง  5. พระราชกฤษฎีกา  6. กฎกระทรวง  7. เทศบัญญัติ

3.             แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้ 
-                   ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้
ตอบ       เวลาที่ครูบางคนโกรธ อารมณ์เสียหรือไม่พอใจสิ่งใด ก็มักมาลงอารมณ์กับเด็ก ด้วยการทำรุนแรง เช่น ตบ ตี เตะ ต่อย ขว้างปาสิ่งของใส่ ด่าว่า ตะคอกด่าว่าเด็กด้วยถ้อยคำ รุนแรงหยาบคาย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สร้างบาดแผลในใจเด็กทั้งสิ้น อีกทั้ง อาจส่งผลให้เด็กซึมซับเอาพฤติกรรมเหล่านี้มาจนกลายเป็นคนมีนิสัยเป็น นักเลง ก้าวร้าว  โมโหร้าย เป็นต้น ตามเนื้อข่าวแล้วปัญหาคือเด็กอ่านหนังสือไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาปกติใน ชั้นเรียนที่นักเรียนแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นครูควรหาวิธีการสอน หรือแนวการสอนใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมในการอ่านของนักเรียนมากขึ้น ไม่ใช่มาใช้ความ รุนแรงในการแก้ปัญหา แม้ว่าปัญหาเรื่องการทำร้ายหรือทารุณกรรมเด็กจะไม่มีวันหมดไป จากสังคมไทย แต่ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และจะเป็นครูในอนาคตจึงมี หน้าที่ในการช่วยดูแลไม่ใช่ซ้ำเติม  และจากข่าวข้างต้นครูได้ทำร้ายเด็กเกินกว่าเหตุ เพราะแค่เด็กอายุเพียง 6 ขวบ อ่านหนังสือไม่ค่อยออก ไม่ควรทุบตีหรือทำร้ายเด็กขนาดนี้ ครูได้ประพฤติผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อปฏิบัติทางวินัยจึงต้องได้รับโทษทางวินัยที่ระบุไว้ในมาตรา 96 ซึ่งต้องโทษลาออก

4.             ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร
ตอบ       วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของตนเอง
-                   จุดแข็ง (S)
1.             เวลาอาจารย์สอน จะคิดตามสิ่งที่อาจารย์พูด
2.             เตรียมเอกสาร เนื้อหาก่อนมาเรียน
3.             มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในห้องเรียน ทำให้มีมุมมองใหม่ๆ
4.             รับผิดชอบงานที่อาจารย์สั่ง
-                   จุดอ่อน (w)
1.             ยึดติดในความคิดของตัวเองมากเกินไป
2.             ขี้เกียจ และ ผัดวันประกันพรุ่ง
3.             ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ลังเลใจ
4.             เรียนหรืออ่านอะไรไปแล้วถ้าไม่ทบทวนจะลืม
-                   โอกาส (o)
1.             สามารถนำทฤษฎีที่เรียนมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
2.             ในการเรียนวิชานี้สามารถนำความรู้และทฤษฎีมาวิเคราะห์ข่าวในปัจจุบันได้
3.             สามารถถามอาจารย์ในสิ่งที่ไม่เข้าและอาจารย์จะตอบคำถามให้อีกครั้งอย่างชัดเจน
4.             ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ในการแปล และศัพท์ใหม่ๆ
-                   อุปสรรค (T)
1.             ไม่เข้าใจในวิธีการนำทฤษฎีบางตัวไปใช้
2.             ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจบทเรียนเป็นเวลานาน ทำให้ไม่ทันเพื่อน

5.             ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย
ตอบ       ข้อดี : อาจารย์เป็นคนตรงต่อเวลา เป็นคนที่เก่งมาก มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและความรู้รอบตัวเยอะมาก จัดการเรียนการสอนได้ดี อาจารย์ทำให้วิชาที่น่าเบื่อกลายเป็นวิชาที่น่าเรียนมากขึ้น เพราะเปลี่ยนจากการบรรยาย เป็นการใช้เทคโนโลยีแทน ทำให้การจัดการเรียนการสอนน่าสนใจมากขึ้น และมีการนำวิทยากรมาให้ความรู้เสริมในเรื่องของสวอทด้วย
                ข้อเสีย : ในบางครั้งอาจารย์เลือกสอนความรู้ทั่วไปมากกว่าเนื้อหาเกี่ยวกับวิชากฎหมาย และเน้นให้นักศึกษาศึกษาเองนอกห้องเรียนมากกว่าในชั้นเรียนมากเกินไป เนื่องจากอาจารย์ไม่ค่อยมีเวลาคะ แต่ก็เข้าใจคะว่าอาจารย์มีหน้าที่ให้รับผิดชอบเยอะคะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น