แบบฝึกหัดทบทวนจงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1.
นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ก. การศึกษา ข.
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ค.
การศึกษาตลอดชีวิต ง. มาตรฐานการศึกษา จ. การประกันคุณภาพภายใน ช. การประกันคุณภาพภายนอก ซ. ผู้สอน ฌ. ครู ญ. คณาจารย์ ฐ.
ผู้บริหารสถานศึกษา ฒ.
ผู้บริหารการศึกษา ณ.
บุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ก. การศึกษา
“การศึกษา” หมายความว่า
กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้การฝึก
การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ
การสร้างองคค์วามรู้อัน เกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม
สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ซึ่งอธิบายความด้วยการตอบคำถาม คือ
การศึกษาคืออะไร
ตอบ คือ กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เรียนรู้เพื่ออะไร
ตอบ คือ เพื่อความเจริญของบุคคลและสังคม
เรียนรู้อย่างไร ตอบ
คือเรียนรู้โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น ถ่ายทอดความรู้ฝึก อบรม สั่งสอน สังเกต
วิเคราะห์ สร้างองค์ความรู้ สืบสาน สร้างสรรค์ จากบุคคล สื่อ ปัจจัยและสภาพแวดล้อมเป็นต้น
(คำหมาน คนไค, 2543, 28)
ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
“การศึกษาขั้นพื้นฐาน” หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
ค. การศึกษาตลอดชีวิต
“การศึกษาตลอดชีวิต” หมายความว่า
การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย
ง. มาตรฐานการศึกษา
“มาตรฐานการศึกษา” หมายความว่า ข้อกำ
หนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง
และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสา หรับส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ
การประเมิน และการประกนัคุณภาพทางการศึกษา
จ. การประกันคุณภาพภายใน
“การประกันคุณภาพภายใน” หมายความว่า
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน
โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้น เอง
หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
ช. การประกันคุณภาพภายนอก
“การประกันคุณภาพภายนอก” หมายความว่า
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก
โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรองรับ
เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
ซ. ผู้สอน
“ผู้สอน” หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับ ต่าง ๆ
ฌ. ครู
“ครู” หมายความวา่ บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำ หน้าที่หลัก ทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง
ๆ ในสถานศึกษาท้ั้งของรัฐและเอกชน
ซึงอธิบายสมาน คนได (2543,29) กล่าวว่า ครู มีองค์ป ระกอบ 2 อย่างคือ
1. ทำหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอน
2. ทำหน้าที่นั้น ในสถานศึกษา (ที่สอนต่ำ ว่า ปริญญา)
ญ.คณาจารย์
“คณาจารย์” หมายความวา่ บุคลากรซึ่งทำ หน้าที่หลัก ทางด้านการสอนและการวิจัยใน
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา
“ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่า
บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
ฒ. ผู้บริหารการศึกษา
“ผู้บริหารการศึกษา” หมายความว่า
บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับ เขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ณ. บุคลากรทางการศึกษา
“บุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า
ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษารวมท้ั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำ
หน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับ การจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง
ๆ
2.
ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้างให้อธิบาย
ตอบ หมวด
1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ
ความมุ่งหมายและหลักการของการจัดการศึกษา (มาตรา 6-มาตรา 9)
1. ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
(มาตรา 6)
การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย
จิตใจสติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2. กระบวนการเรียนรู้
(มาตรา 7)
กระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอัน
มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่ เสรีภาพความเคารพกฎหมายความเสมอภาค
และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติรวมทั้งส่งเสริมศาสนาศิลปะวัฒนธรรมของชาติการกีฬา
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีความสามารถในการประกอบอาชีพรู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
3. หลักการจัดการศึกษา
มี 3 ประการคือ (มาตรา 8)
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
3.
หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
4.
การจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา
ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
ตอบ การจัดระบบ โครงสร้าง
และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดั้งนี้(มาตรา 9)
(1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2) มีการกระจายอำนาจ ไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา
และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
และการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5) ระดมทรัพยากร จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6) การมีส่วนร่วม ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ
และสถาบันสังคมอื่น
5.
สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบ้าง
ตอบ มีสาระสำคัญของหมวดนี้ มีดังนี้ (มาตรา 10-14) (คาหมาน คนไค, 2543, 31)
1. การจัดการศึกษา
ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึง (Education for
all) มีคุณภาพ (Educational Quality) และไม่เก็บค่าใช้จ่าย
(Free Education) (สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2542, 17)
2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม
ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
3. พ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน
สถานประกอบการ สถาบันศาสนาและสถาบันอื่น ๆ
มีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่วไป
ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ
รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกำหนด
6.
ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง
จงอธิบาย
ตอบ 1. การจัดการศึกษามี
3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย
สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งทั้ง
3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้
2. การจัดการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับคือการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะเรียกชื่อเป็นประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรืออย่างอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง การศึกษาระดับอุดมศึกษา
มี2 ระดับคือ ระดับปริญญาและต่ำ กว่า ปริญญา
3. การศึกษาภาคบังคับ มีกำหนด 9 ปี เด็กอายุ 6
ขวบต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้น พื้นฐานจนถึงอายุ 15 ขวบ
เว้นแต่สอบได้ชั้น ปีที่9 ของการศึกษาภาคบังคับ
หลักเกณฑ์การนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
4. การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้น พื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา 3 ประเภทคือ (1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
(2) โรงเรียน (3) ศูนย์การเรียน
5. การอาชีวศึกษาให้จัดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งสถานประกอบการและองค์กรหรือหน่วยงานอื่น
ตามกฎหมายว่า ด้วยอาชีวศึกษา
6. กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงาน
โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติทั้งนี้ตามทหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
7.
การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1. การจัดการศึกษามี
3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย
สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้3
รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งทั้ง 3
รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้
2. การจัดการศึกษาแบ่งเป็น
2 ระดับคือการศึกษาขั้น พื้นฐาน
การศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานจะเรียกชื่อเป็นประถมศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลายหรืออย่างอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง การศึกษาระดับอุดมศึกษา มี2 ระดับคือ ระดับปริญญาและต่ำกว่าปริญญา
3. การศึกษาภาคบังคบมีกำหนด 9 ปี เด็กอายุ 6 ขวบต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงอายุ 15 ขวบ เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์การนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
4. การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ให้จัดในสถานศึกษา 3 ประเภทคือ
(1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
(2) โรงเรียน (3) ศูนย์การเรียน
5. การอาชีวศึกษาให้จัดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งสถานประกอบการและองค์กรหรือหน่วยงานอื่น
ตามกฎหมายว่า ด้วยอาชีวศึกษา
6. กระทรวง ทบวง
กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงาน
โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติทั้งนี้ตามทหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
8.
สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
ตอบ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 39
กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ
การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป
ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่โดยตรง
การกระจายอำนาจดังกล่าว จะทำให้สถานศึกษาคล่องตัว มีอิสระในการบริหารจัดการ
ตามหลักของการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-based
management: SBM) ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
จากหลักการดังกล่าว
จึงกำหนดให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลโดยได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ.
2546 ในมาตรา 35 ว่าสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรา
34 (2) เฉพาะที่เป็นโรงเรียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล
และเมื่อมีการยุบเลิกสถานศึกษาตามวรรคหนึ่งให้ความเป็นนิติบุคคลสิ้นสุดลง
9.
แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
ตอบ ในหมวด 4
ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา
จะกล่าวถึงหลักการสำคัญของการจัดกระบวนการเรียนการสอน (มาตรา 22) ซึ่งรวมถึงจุดมุ่งหมายและสาระเนื้อหาของหลักสูตร
(มาตรา 23 และ 27) กระบวนการจัดการ (มาตรา 24) และการประเมินผล (มาตรา 25) องค์กรที่จัดทำหลักสูตร (มาตรา 26) และเงื่อนไขของความสำเร็จอื่นๆ
ไม่ได้กล่าวโดยตรงว่า ต้องยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนเพราะอาจจะสร้างปัญหาเชิงกฎหมายในการบังคับใช้ และการตีความ
นอกจากนั้นในปรัชญาการเรียนการสอนควรหลีกเลี่ยงแนวคิดแบบสุดโด่งที่แยกขั้วระหว่างการเรียนของนักเรียนและการสอนของครูมาตรา
22 จึงกล่าวอย่างเป็นกลางๆ
ไว้โดย "ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด"
10.
ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา
ทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
ตอบ
เห็นด้วยเพราะคนที่จะมาทำหน้าที่ในฐานะครูจำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพเพราะครู
คือ บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำ หน้าที่หลัก ทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง
ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน หากไม่จำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพแล้วการเรียนการสอนก็ได้ผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
11.
มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างบ้าง
ตอบ ร่วมขอรับบริจาคทรัพย์สิน
ระดมทรัพยากรจากชาวบ้าน ภายในชุมชนโดยจะนำมาใช้ในการจัดการศึกษา
12.
การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มีวิธีการพัฒนาได้อย่างไร
ตอบ 1.ศึกษา สำรวจ
วิเคราะห์สภาพปัญหา การจัดหา การเลือกใช้และการประเมินคุณภาพสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อใช้จัดการเรียนการสอนและการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา
2.จัดหาสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการพัฒนางานด้าวิชาการ
3.เลือกใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ผ่านการประเมินคุณภาพทางวิชาการ
จากคณะกรรมการของสถานศึกษา
4.ผลิต พัฒนาสื่อ
นวัตกรรมการเรียนการสอน
รวมทั้งประเมินคุณภาพสื่อฯเพื่อเลือกใช้ประกอบการเรียนการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น